วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารสนเทศ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารสนเทศ


        สารสนเทศ หมายถึงข่าวสารที่ที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์กรต่างๆตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์กรนั้น
     สารสนเทศตรงคำในภาษาอังกฤษว่า (Information) หมายถึงความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศเป็นความรู้ และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ มีประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติ           

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
   เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT คือเป็นเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบัน มีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผล และการแสดงผงสารสนเทศ 

1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
   คอมพิวเตอร์ คือ จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของ IT ในปัจจุบัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์ มีคุณสมบัติครบถวน ทั้งด้านการบันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผล และการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น เทคโนโลยีย่อยสำคัญได้ 2 ส่วน คือ เทคโนโลยีฮารืดแวร์และเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์
   - เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเพื่อเชื่อมโยง จำแนกตามหน้าที่ (CPU)
    
ทำงานออกเป็น 4 ส่วน คือ
     1. หน่วยรับข้อมูล
     2. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
     3. หน่วยแสดงข้อมูล (Output unit)
     4. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)
     
2. เทคโลโนยีซอฟต์ (Softwaer) หมายถึงโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้งานต้องการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
     2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และวอฟต์แวร์ทำงานได้ดี
     2.2 ซอฟตืแวร์ประยุกต์ (Application Software) คือชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เคื่อง คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามที่ต้องการ
    
3. เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น ระบบโทรศัพท์ ดามเทียม และอื่นๆ ในการติดต่อสื่อสาร

 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
     - แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ปี (2520 - 2524)
     - มีการจัดตัวศูนย์ประสานงานและปฏิบัติของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา
     - ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ให้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
     - ในแผนพัฒนาจัดทำแผนหลัก เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในการจัดการศึกษา
     - แผนพัฒนาข้างต้นทำให้เทคโนโลยี สารสนเทศมีความสำคัญต่อวงการการศึกษา ของประเทศไทยมากขึ้น ทำให้การศึกษามีคุณภาพ มีความต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวิต โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
     ยุคที่ 1 ประมวลผลข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณ
     ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการมีการใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุมดำเนินการติดตามผลและวิเคราะห์ ผลงาน
     ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยาการสารสนเทศ มีการใช้คอมพิวเตอร์ จึงเลือกให้สารสนเทศช่วยในการตัดสินนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
     ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุค IT มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดระบบสารสนเทศและ เป็นความถนัดของการใช้บริการ สารสนเทศ แก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

 ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา
     1. ใช้ความรู้ ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
     2. ใช้ประการวางแผนการบริการ
     3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
     4. ใช้ในการควบคุมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
     5. เพื่อให้ทำงานบริการอย่างมีระบบ

สรุป
       การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษา มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ เช่น ดาวเทียม ใยแก้วนำแสง อินเทอรืเน็ต ก่อให้เกิดระบบ คอมพิวเตอร์ สำหรับการบริหารงานใน สถานศึกษาด้านต่างๆ เช่น ระบบ บริหารห้องสมุดและระบบ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาพัฒนาบุคคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

                        ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ


แบ่งได้เป็นมี 3 ประเภทดังนี้
     - รูปแบบเทคโนโลยีสานสนเทศปัจจุบัน
     - พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
     - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
           
รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน  แบ่งได้ 6 รูปแบบดังต่อไปนี้คือ
     1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ กล้องดิจิทัล ก้องวีดิทัศน์เครื่องเอกซเรย์
     2. เทคโนโลยีสารสนสนเทศทีใช้ในการบันทึกข้อมูล เป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสงหรือจานเลเซอร์ บัตรATM
     3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮารืดแวร์ และซอฟต์แวร์
     4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ พลอตเตอร์ ฯลฯ
     5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องถ่าย ไมโครฟิล์ม
     6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอด หรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่างๆ เช่น โทรศัพท์ วิทยุกระจายเสียง โทรเลข เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระบบใกล้และไกล
    
ตัวอย่างการใช้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในทางธุรกิจและทางการศึกษา เช่น
     - ระบบ ATM 
     - การบริการและการทำธุรกรมมบนอินเทอร์เน็ต
     - การลงทะเบียนเรียน 
              
พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    คือ การแสดงออกทางความคิด และความรู้สึกในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่ สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ภาพ ข้อความ หรือ ตัวอักษร ตัวเลข ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
             
การใช้อินเทอร์เน็ต
   นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง เนื่องจากเห็นว่ามีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ในขณะที่ในระดับอุดมศึกษาส่วนใหย่ใช้เพื่อการเรียนรู้ การติดต่อข่าวสารของสถานศึกษา
            
ใช้อินเทอร์เน็ต ทำอะไรบ้าง
   งานวิจัยชี้ว่านักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้สถานที่ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
   นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน และมีการใช้อินเทอร์เน็ตที่ห้องสมุดของสถาบัน งานวิจัยนักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้น้อย ได้แก่ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

                                 


                                  การสืบขค้นข้อมูลสานสรเทศ
      การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการสืบค้น ค้นหา หรือดึงข้อมูลและสารสนเทศเฉพาะเรื่องที่ผู้ใช้ระบบแหล่งรวมสารสนเทศไว้เป็น จำนวนมาก เพื่อประโยน์ในด้านต่าง เช่นการศึกษษ เป็นต้น
        
วัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ
     1. เพื่อทราบถึงรายละเอียดของข้อมูล
     2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการศึกษาหรือการทำงาน
     3.เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับตนเองและผู้อื่น
     4. เพื่อตรวจสอบข้อมูล
     5. เพื่อการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
     
 Search Enging หมายถึงเครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลและข่าว สารให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จากแหล่งข้อมูลในเว็บต่างๆ
     
 ความหมายของเครื่องช่วยค้นหา
   คือ เครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์ในการค้น หาข้อมูล และข่าวสารที่อยู่ของเว็บไซต์ (Address) ต่างๆในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  
ปรเภทของ Search Enging
     - อินเด็กเซอร์ (Indexers)
   Search Enging แบบอินเด็กเซอร์จะมีโปรแกรมช่วยจัดหาข้อมูในการค้นหา หรือเรียกว่า Robot วิ่งไปมาในอินเทอร์เน็ต เพื่ออ่านข้อมูลจากเว็บเพจ (Web pages) ต่างๆทั่วโลกมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลไว้ โดยจะใช้ตัวอินเด็กเซอร์ Indexers ค้นหาจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ เช่น
     - http://www.altavista.com                    - http://www.excite.com
     - http://www.hotbot.com                      - http://www.magellan.com
     - http://www.webcrawler.com

 ไดเร็กเตอร์ (Directories) 
   Searh Engines แบบไดเร้กทอรี่จะใช้การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่ง เปรียบเสมือนกับเป็นแค็ตตาล็อกสินค้า เลือกจากข้อมูลใหญ่ไปหาเล็ก จนพบข้อมูลที่ต้องการโดยจะแสดงจาก URL ตัวอย่างเช่น
     - http://www.yahoo.com                 - http://www.lycos.com
     - http://www.looksmart.com            - http://www.galaxy.com
     - http://www.askjeeves.com            - http://www.siamguru.com

 เมตะเสิร์ช (Metasearch) 
  Search Engines แบบเมตะเสิร์ชใช้ได้หลายๆวิธีการมาช่วยในการสืบค้นข้อมูลโดยจะรับคำสั่งค้น หาแล้วส่งไปยังเว็บไซต์ Search Engines หลายแหล่งพร้อมกัน ทำให้เราเข้าถึงเว็บได้อย่างรวดเร็ว เช่น
     - http://www.dogpile.com              - http://www.highway61.com
     - http://www.profusion.com           - http://www.thaifind.com
     - http://www.metacrawler.com
 
Yahoo
     เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบไดเร็กเทอร์เป็นรายแรกในอินเทอร์ และเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานเป็นรายแรกในอินเทอร์เน็ต เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานสูงสุดในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือการค้นหาในแบบเมนู และการค้นแบบวิธีระบุทำที่ต้องการค้นหา

Altavista
     เป็น Search Engines ของบริษัท Digital Equipment Corp หรือ DEC มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่มาก มีโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาที่มีความสามารถสูง จุดเด่น มีเว็บเพจอินเด็กซ์ Indexed Web Pages เป็นจำนวนมากกว่า 150 ล้านเว็ยเพจ
    
Excite 
     เป็น Search Engines มีจำนวนไซต์ site ในคลังข้อมูลมากที่สุดตัวหนึ่งและสามารถค้นหาข้อมูลหรือความหมายของคำได้ โดยจะทำการค้นจาก World wide web เนื่องจาก Excite มีข้อมูลในคลังจำนวนมาก ทำให้ผลลัพธ์ในการค้นหา มีจำนวนมากตามไปด้วย
 
Hotbot 
     เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยมอีกเว็บไซต์ มีจุดเด่นตรที่สามารถกำหนดเงื่อนไขที่สูงขึ้นได้
    
Go.com
    เป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอข่าวทันเหตุการณ์ต่างๆจากแหล่งข่าวต่างๆ เป็นจำนวนมากตลอดจนข่าวในด้านบันเทิง (Entertainment New)
    
Lgcos
     ฐานข้อมูลของ Lgcos มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งมีคลังข้อมูลมากกว่า 1,500,000 ไซต์ และมีเทคนิคในการค้นหาข้อมูล โดยมีระบบการค้นหาข้อมูลอย่างรวดเร็ว
    
Looksmart 
     เกิดจากความคิดของชาวออสเตเลีย 2 คนที่ไม่ประทับใจในการค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จึงขอความช่วยเหลือจาก Reader's Digest ทั้งสองจึงลงมือสร้างเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่คำนึงถึงความใช้ง่ายและเหมาะสม กับเนื่อหา
    
Webcrawler 
     เป็นเว็บไซต์ที่มีคลังข้อมูลระดับปานกลาง มีข้อจำกัดคือ ใช้ค้นหาข้อมูลที่เป็น วลีหรือข้อความ    ทั้งข้อความไม่ได้จะมาสารถค้นหาข้อมูลได้เฉพาะที่
    
Dog Pile
     เป็นประเภท เมตะเสิร์ชที่ใช้งานง่าย ค้นหาได้อย่างรวดเร็ว โดยการพิมพ์คำค้นหาลงในช่องค้นหาและกดปุ่ม Fetch โดยผลลัพธ์จะปรากฏบนหน้าจออย่างรวดเร็ว

Ask jeeves
     เป็นน้องใหม่ในอินเทอร์ โดยเราสามารถถามคำถามที่เราต้องการอยากรู้โดยพิมพ์คำถามลงไปในช่องกรอก ข้อมูล และคลิกปุ่ม Ask แล้วจะปรากฏผลลัพธ์จากเว็บไซต์ต่างๆ
    
Profusion
     เป็นการค้นพบแบบ เมตะเสิร์ช ได้รับความนิยมถึง 9 แห่งด้วยกัน โดยเราสามรถเลือกได้ว่าใช้ Search Engines สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
    
Siamguru.com
     ใต้สมญานาม "เสิร์ชฯไทยพันธ์ไทย" Real Thai Search Engines เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือ ค้นหาสำหรับคนไทยที่ดีที่สุดในประเทศไทย มีการค้นหาภาพ เพลงต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการค้นหาภาษาไทย ตลอดจนมีระบบการเก็บข้อมูลใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา
    
การใช้งาน  Search Engines
   การระบุคำค้นหา หรือใช้คีย์เวิร์ด yahoo.com การใช่้ต้องป้อนข้อมูล หรือข้อความที่ต้องการ Keyword ลงไปในช่องค้นหา

 การค้นเป็นหมวดหมู่ Directories 
   การค้นหาจากหมวดหมู่ จะมีการแบ่งหัวข้อต่างๆออกเป็นหัวข้อหลัก ในแต่ละหัวข้อหลักก็ประกอบไปด้วยหัวข้อย่อยลงไปเรื่อยๆ

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์


                          คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
      คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่น คือ มีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผล
     

ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
   คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 5 ส่วน ดังนี้
1. หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit) ทำหน้าที่ป้อนหน้าที่ป้อนสัญญาเข้าสู่ระบบ ได้แก่
      - แป้นอักขระ (Keyboard) 
      - แผ่ยซีดี (CD - ROM)
      - ไมโครโฟน (Microphone)

2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
   ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนาณทั้งทางตรรกยะ และคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่ง

3. หน่วยความจำ (Memory Unit)
   ทำหน้าที่เก็บข้อมูล หรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผล กลางและเก็บผลลัพธ์ ส่งไปยังหน่วยแสดงผล

4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
   ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลหรือผ่านการคำนวณแล้ว

5. อุปกรณต่อพวงอื่นๆ (Peripheral Equipment)
   เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพวงเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้นเช่น โมเด็ม (Modem)
    
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
      1. มีความรวดเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็ว
      2. สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
      3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
      4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อหาที่เก็บเอกสาร
      5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องได้
ระบบคอมพิวเตอร์
   หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตาม ประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียน เป็นต้น
  
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้
      1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
      2. ซอฟต์แวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
      3. ข้อมูล (Data)
      4. บุคคลากร (Peopleware)
  
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณณ์ต่างของคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสัมผัสได้ มี 4 ส่วนคือ
      1. ส่วนประมวลผล (Processor)
      2. ส่วนความจำ (Memory)
      3. อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input - Output Devices)
      4. อุกรณ์ช่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)
   
ส่วนที่ 1 CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์แวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานคอมพิวเตอร์ ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูล มีความรวดเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ
   
ส่วนที่ 2 หน่วยความจำ Memory จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
      2.1 หน่วยความจำหลัก Main Memory
      2.2 หน่วยความจำสำรอง Secondary Storage
   
          2.1 หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
   เป็นหน่วยเก็บข้อมูล และคำสั่งต่างๆของคอมพิวเตอร์ สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งและสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผล ภายหลัง
   
 หน่วยความจำแรม (Ram = Random Access Memory)
เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อเก็บรักษาข้อมูล ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง
  
หน่วยคาวมจำรอม (Rom = Read Only Memory)
เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ เป็นข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้วงจร หรือเรียกว่า "หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน" (Nonvolatille Memory)
   
           2.2 หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory Unit)
  
 หน้าที่หลัก
      1. ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
      2. ใช้ในการเก็บโปรแกรมอย่างถาวร
      3. ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปอีกคึ่งหนึ่ง
     
ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
   หน่วยความจำสำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับ จะพบในรุปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ซีดี เป็นต้น
                    
 ส่วนแสดงผลข้อมูล
   คือ ส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลาง อุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นต้น
บุคคลากรคอมพิวเตอร์ (Peopleware)
   หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไป อย่างราบรื่นอาจจะมีคนเดียว หรือหลายคนรับผิดชอบโครงสร้างหน่วยงานคอมพิวเตอร์
        


บุคคลากรหน่วยงานคอมพิวเตอร์
      1. หัวหน้างานคอมพิวเตอร์ EDP Manger
      2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนรายงาน System Analyst หรือ SA
      3. โปรแกรมเมอร์ Programer
      4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ Computer Operator
      5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล Data Entry Operator
   
- นักวิเคราะห์รายงาน (นักการศึกษารายงานเดิม ออกแบบรายงานใหม่)
   
- โปรแกรมเมอร์ (นักรายงานใหมาที่นักคิดวิเคราะห์รายงานออกแบบไว้เพื่อมาสร้างโปรแกรม)
  
 - วิศวกรระบบ (ทำหน้าที่ออกแบบสร้าง ซ่อมแซ่มปรับปรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ)
   
- พนักงานปฏิบัติการ (ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่หรือภาระกิจประจำวันที่เกี่ยวข้อง
กับ(คอมพิวเตอร์) อาจแบ่งประเภท ได้ดังนี้

1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปตามเป้า
หมายของหน่วยงาน

2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือผู้ที่ศึกษารายงานเดิม หรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน

3. โปรแกรมเมอร์ (Programer) คือผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้

4. ผู้ใช้ User คือผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่ต้อเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อและวิธีการใช้งานเขียนโปรแกรมเพื่อให้ โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
             

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยที่ 4


           หน่วยที่ 4


     ซอฟต์แวร์(Software) ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าง จัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี แฟล็ชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น


หน้าที่ของซอฟต์แวร์
     ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ เราก็ไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท

ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ
     1.ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software)
     2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)
     3.ซอฟแวร์ใช้งานเฉพาะ

ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software)
     ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอขระและแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการระบบในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง System Software หรือโปรแกรมที่ระบบที่รูจักกันคือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น
     นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton's Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วย

หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
     1) ใช้ในการจัดการหน่วยรับข้อมูลและหน่วยส่งออก เช่น รับรู้การกดแป้นต่างๆ บนแผ่นแป้นอักขะ ส่งรหัสตัวอักษรออกบนทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น เมาส์ ลำโพง เป็นต้น
     2) ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
     3) ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหวางผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายงานในการในสารระบบ (directory) ในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และ ตัวแปลภาษา

ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
   ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
     1) ระบบปฏิบัติการ(Operating System : OS)
     2) ตัวแปลภาษา

1. ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดี เช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกส์ และแมคอินทอช เป็นต้น

     1) ดอส (Disk Operating System : DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีตปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้งานน้อยมาก
     2) วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียวนอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
     3) ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (Open System) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆงานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitusers) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานร่วมกกันหลายๆเครื่องพร้อมกัน
     4) ลีนุกส์ (Reenux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มโปรแกรมของกูส์นิว (GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Free Ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
     สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล เช่น อินเทล (PC Intel) ดิจิตอล (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUNSPARC) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนพีซีได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น
    
     5) แมคอินทอส (Macintosh)  เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกาฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมาก เช่น ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา

ชนิดของระบบปฏิบัติการ จำแนกตามการใช้งานสามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ
     1) ประเภทใช้งานเดี่ยว (Single-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำกนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส เป็นต้น
     2) ประเภทใช้หลายงาน (Multi-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันได้หลายงานในเวลาเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ขึ้นไป และ UNIX เป็นต้น
     3) ประเภทใช้งานหลายคน (Multi-user) ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน แต่ละคนจะมีสถานีการทำงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการทีมีความสามารถสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows NT UNIX เป็นต้น

2. ตัวแปลภาษา การพัฒนาซอฟแวร์ต้องอาศัยตัวซอฟแวร์ที่ใช้มนการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจง่าย และเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขปรับปรุงซอฟแวร์ในภายหลังได้
ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา
ซึ่งภาษาระดับสูงได้แก่ ภาษา Basic,Pascal,C และ ภาษาโลโก้ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาก ได้แก่ Fortran,Cobol และภาษาอาร์พีดี

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

    

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (plication Software)
    
      ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจักทำบัญชี การตกแต่งภ่พ หรือการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น

ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
   แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ
     1. ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary Software)
     2. ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อโดยท่วไป (Packaged Software)
มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ (Customized Package)  และโปรแกรมมาตารฐาน (Standard Package)

ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน แบ่งเป็น 3 ประเภท
     1. กลุ่มใช้งานด้านธุรกิจ (Business)
     2. กลุ่มการใช้งานด้านการฟิกและมัลติมิเดีย (Graphic and Multimedia)
     3. กลุ่มการใช้งานบนเว็บ (Web and Communications)

กลุ่มการใช้งานด้านธุรกิจ (Business)
     ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดพิมพ์รายงานเอกสาร นำเสนองาน และการบันทึกนัดหมายต่างๆ ตัวอย่าง เช่นโปรแกรมประมวณคำ อาทิ Microsoft,Word,Sun,Staroffice Writerโปรแกรม ตารางคำนวณ อาทิ Microsoft Excel,Sun Sstaroffice Cals
โปรแกรมนำเสนองาน อาทิ Microsoft PawerPoint,SunofficeImpress

กลุ่มการใช้งานด้านการฟิกและมัลติมิเดีย (Graphic and Multimedia)
     ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านกราฟิกและมัลติมิเดีย เพื่อให้งานงายขึ้น เช่น ใช้ตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อภาพเคลื่อนไหว การสร้างและออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น เช่น
โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft Visio Professionol
โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ CorelDRAW,Aobe Photoshop
โปรแกรมตัดต่อวิดิโอและเสียง อาทิ Adobe Premiere.Pinnacle Studio DV
โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมิเดีย อาทิ Adobe Authorware,Toolbook Instructor,Adobe Director
โปรแกรมสร้างว็บ อาทิ Adobe Fiash,Adobe Dreamweaver

กลุ่มการใช้งานบนเว็บ (Web and Communications)
     ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเพิ่มมากขึ้น เช่น โปรแกรมการตรวจเช็คอีเมลการท่องเว็บไซต์ การจัดการดูแลเว็บไซต์ การจัดการดูแลเว็บ และการส่งข้อความติดต่อสื่อสาร การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย ตัวอย่าง เช่น
โปรแกรมจัดการอีเมล อาทิ Microsoft Outlook,Mozzila Thunderbird
โปรแกรมท่องเที่ยวเว็บ อาทิ Microsoft Internet Explorer,Mozzila Firefox
โปรแกรม ประชุมทางไกล (Video Conference) อาทิ Microsoft Netmeeting
โปรแกรมส่งข้อความด่วน (Instant Messaging) อาทิ MSN Messenger/Windows Messenger,ICQ
โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ต อาทิ PIRCH,MIRCH


ความจำเป็นของการใช้ซอฟตืแวร์
     ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงเป็นสิ่งที่ผู้สร้างภาษาสร้างขึ้นมาในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร ข้อความ
ภาษาระดับสูงมีอยู่มากบางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล

ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
     เมื่อเราต้องการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานเราจะต้องบอกวิธีการขั้นตอนให้คอมพิวเตอร์ทราบ บอกสิ่งที่เราเข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง เมื่อเปรียบเทียบกับชีวิติประจำวันแล้ว เรามีภาที่ใช้ติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้าเราต้องการจะถ่ายถอดความต้องการให้คอมพิวเตอรืรับรู้และปฏิบัติตามจะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุกต์ประกอบด้วย
     ภาษาเครื่อง (Machine Languages)
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าใช้แทนด้วยเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบใช้ 0 และ 1 เป็นรหัสแทนคำสั่งในการใช้งานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสอง คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองว่า ภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเขาใจได้ทันทีแต่เราผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นที่เป็นตัวอักษร

ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Languages)
     เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีช่วยยลความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์
แต่อย่างไรก็ตามภาแอสเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาเครื่องอยู่มาก และจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซมเบลอร์ (Assembler) เพื่อแปลภาแอสเซมบลีให้เป็นภาเครื่อง


ภาษาระดับสูง (High-Level Languages)
     เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้น เนื่องจากภาษาระดับสูงใกล้เคียงภาษามนุษย์ ตัวแปลภาษาระดับสูงเพื่อให้เพื่อให้เป็นภาษาเครื่องมีอยู่ 2 ชนิด คือ
     1. คอมไพเลอร์ (Compiler)
     2. อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)


คอมไพเลอร์ (Compiler)  มีหน้าที่แปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาเครื่องนั้น

อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter) มีหน้าที่แปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอรืกับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยุ่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทั้งคำสั่ง